วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ร้อยเอ็ด...สำนักงานชลประทานที่ 6 ลงพื้นที่ชี้แจงแนวทางการผันน้ำยัง เพื่อตัดยอดน้ำ ลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนในช่วงฤดูน้ำหลาก ปี 2563


ร้อยเอ็ด...สำนักงานชลประทานที่ 6 ลงพื้นที่ชี้แจงแนวทางการผันน้ำยัง เพื่อตัดยอดน้ำ ลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนในช่วงฤดูน้ำหลาก ปี 2563
                เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 22 กรกฎาคม 2563 นายศักดิ์ศิริ  อยู่สุข ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 6 มอบหมายให้ นายองอาจ แสนอุบล ผู้อำนวยการส่วนวิศวกรรม สำนักงานชลประทานที่ 6 พร้อมด้วย  นายนรเศรษ ฤกษ์สงเคราะห์ หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน โครงการชลประทานร้อยเอ็ด และคณะ ลงพื้นที่ชี้แจงทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน ตำบลวังหลวงและตำบลเหล่าน้อย อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ทราบถึงรายละเอียดและประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการดังกล่าว ณ วัดศรีบุญเรืองบ้านบาก ต.วังหลวง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด      



            นายองอาจ แสนอุบล ผู้อำนวยการส่วนวิศวกรรม สำนักงานชลประทานที่ 6 กล่าวว่า การลงพื้นที่ในครั้งนี้ ได้ชี้แจงถึงแนวทางการผันน้ำยังลงห้วยวังหลวง-บึงเกลือ-กุดปลาคูณ ในพื้นที่อำเภอเสลภูมิ เป็น1 ในมาตรการ เตรียมความพร้อมรับมือน้ำหลากในลุ่มน้ำยังปี 2563 ซึ่งสำนักงานชลประทานที่  6  ได้เร่งรัดดำเนินการขุดลอกลำห้วยเปิดทางน้ำ เพื่อตัดยอดน้ำกรณีมีน้ำหลากในลุ่มน้ำยัง จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ปตร.บุ่งเป้า  ปตร.กุดปลาเข็ง และปตร.บ้านบาก จะทำให้น้ำที่ไหลมาจากลำน้ำยังตอนบนไหลลงลำน้ำชีได้สะดวก รวดเร็วที่สุด และน้ำอีกส่วนหนึ่งจะผันเข้าไปเก็บกักไว้ที่ห้วยวังหลวง บึงเกลือ และกุดปลาคูณ เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง ซึ่งในส่วนของ ปตร.บุ่งเบ้าและ ปตร.กุดปลาเข็ง ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ส่วนปตร.บ้านบาก อยู่ในระหว่างดำเนินการ แต่ยังมีประชาชนบริเวณใกล้เคียงยังไม่เข้าใจการดำเนินโครงการดังกล่าว จึงเกรงว่าจะได้รับผลกระทบน้ำเอ่อท่วมแปลงนา ซึ่งสำนักงานชลประทานที่ 6 ได้ชี้แจงหลักการและแนวทางให้รับทราบร่วมกัน



      ทั้งนี้จากการประชุมหารือ ชาวบ้านส่วนใหญ่เห็นชอบกับการดำเนินโครงการดังกล่าว เนื่องจากชาวบ้านเห็นว่าจะได้ใช้ประโยชน์จากแหล่งเก็บน้ำสำหรับทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง และช่วยลดผลกระทบกับประชาชนด้านเหนือน้ำและท้ายน้ำด้วย แต่ก็ยังมีชาวบ้านส่วนน้อยที่มีพื้นที่การเกษตรอยู่ใกล้เคียงจุดที่ดำเนินการ เกรงว่าจะได้รับผลกระทบ ซึ่งสำนักงานชลประทานที่ 6 ได้ทำความเข้าใจกรณีดังกล่าวว่า การดำเนินการตามแนวทางนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตรที่อยู่ใกล้เคียงแต่อย่างใด จึงมีแนวทางสรุปร่วมกันว่า ผู้นำท้องถิ่นจะเข้าไปทำความเข้าใจ ให้ชาวบ้านเห็นชอบตามแนวทางเดียวกัน เพื่อให้สำนักงานชลประทานที่ 6 เร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 เพื่อทันใช้งานในช่วงฤดูฝนปี 2563 นี้
//////
คมกฤช พวงศรีเคน ข่าว/ภาพ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น