วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563

"อานนท์"ดึงอดีตประธาน นปช.ภาคตะวันตก จัดตั้งวิสาหกิจชุมชนสร้างเครือข่ายหวังสร้างงานสร้างอาชีพลดความขัดแย้งสมานฉันท์สร้างพลังขับเคลื่อนพัฒนาประเทศช่วยรัฐบาล"บิ๊กตู่" ตามนโยบาย"รวมไทยสร้างชาติ"


"อานนท์"ดึงอดีตประธาน นปช.ภาคตะวันตก จัดตั้งวิสาหกิจชุมชนสร้างเครือข่ายหวังสร้างงานสร้างอาชีพลดความขัดแย้งสมานฉันท์สร้างพลังขับเคลื่อนพัฒนาประเทศช่วยรัฐบาล"บิ๊กตู่" ตามนโยบาย"รวมไทยสร้างชาติ"

วันนี้ (29 มิถุนายน 2563) ณ ห้องประชุมร้านกาแฟอเมซอน ปั๊มปตท. ต.กุยบุรี อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ นายพันธ์ศักดิ์ เพชรพิทักษ์ชน อดีตประธาน นปช.ภาคตะวันตก และ อดีตประธาน นปช.ประจำจังหวัดต่างๆ ของภาคตะวันตกให้การต้อนรับ นายอานนท์ แสนน่าน ประธานเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่น เรารักประเทศไทย นายองอาจ วิเศษ ประธานเครือข่ายภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย นางธนภัทร พันธวาส ประธานเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแห่งประเทศไทย นายเศรษฐภัทร์ นิตยสิทธิวรากุล ประธานเครือข่ายเมืองสมุนไพรนาคราช และ พร้อมคณะผู้บริหาร ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และ ประชาชน ร่วมประชุมหารือการปรับเปลี่ยน "หมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่นไทย" ขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จาก “ร.9 ถึง ร.10 สู่ผองไทยทั่วแหล่งหล้า สืบสาน รักษา ต่อยอด สร้างสุขปวงประชา” พร้อมแนะนำการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อเสนอของบประมาณแก้ไขปัญหาความยากจนเกษตรกร ต่อทางรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผ่านทาง นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบประสานงานระหว่างภาคประชาชนกับทางรัฐบาล



นายอานนท์ แสนน่าน ประธานเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่น เรารักประเทศไทย ได้กล่าวว่า วิสาหกิจชุมชนเกิดขึ้นจากการนำเอาแนวทางเศรษฐกิจชุมชนหรือแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ คำว่า “วิสาหกิจชุมชน” นั้นสามารถใช้คำว่า “ธุรกิจชุมชน” แทนได้ อันเนื่องมาจากว่าชุมชนไม่ใช่รัฐ ดังนั้นสถานประกอบการที่ชุมชนเป็นเจ้าของก็ต้องจัดว่าเป็นของภาคเอกชนเช่นเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วถ้าหากใช้คำว่าธุรกิจนั่นก็หมายถึงการแสวงหากำไรเป็นที่ตั้ง แต่สถานประกอบการที่ชุมชนเป็นเจ้าของนั้นกลับมีแนวคิดที่เน้นการพึ่งพาอาศัยกันมากกว่าการแสวงหากำไร ดังนั้นจึงควรใช้คำว่า “วิสาหกิจชุมชน” เช่นเดียวกับ “รัฐวิสาหกิจ” ที่หลายคนรู้จัก โดยวิสาหกิจชุมชนนั้นจัดเป็นกลุ่มกิจกรรมของชุมชนที่ชุมชนคิดได้จากการเรียนรู้ ไม่ใช่กิจกรรมเดี่ยว ๆ ที่ทำเพื่อมุ่งสู่ตลาดใหญ่ และไม่ใช่กิจกรรมที่ซับซ้อนอะไร ล้วนแล้วแต่เป็นการทำกินทำใช้ทดแทนการซื้อจากตลาดได้ และเป็นการจัดการระบบการผลิตและบริโภคที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น การจัดการเรื่องข้าว หมู เห็ด เป็ด ไก่ ผัก ผลไม้ น้ำยาสระผม สบู่ น้ำยาล้างจาน หรืออื่น ๆ ที่ชุมชนทำได้เองโดยไม่ยุ่งยากนัก การทำกินทำใช้ทดแทนการซื้อเป็นการลดรายจ่ายและยังช่วยให้ระบบเศรษฐกิจใหญ่เข้มแข็งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการจัดระบบเศรษฐกิจใหม่ให้เป็นฐานที่เป็นจริงในชุมชน เพราะถ้าชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ กระแสพระราชดำรัสของ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9"ได้ทรงเปรียบเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนเสาเข็มของตึกที่ทำให้ตึกมั่นคงแข็งแรงเศรษฐกิจของประเทศก็จะเข้มแข็งและอยู่ได้ ที่ผ่านมาระบบเศรษฐกิจในประเทศเปรียบเหมือนการสร้างตึกที่มีฐานแคบ ถ้าฐานไม่แข็งแรง ตึกก็พังลงมา ดังนั้น วิสาหกิจชุมชนจึงมีความสำคัญในการสร้างฐานมั่นคงให้กับประเทศได้ โดยกระตุ้นเศรษฐกิจระดับรากหญ้าให้เข้มแข็งและกระจายโอกาสการประกอบอาชีพให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ และลดภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น



นายอานนท์ กล่าวอีกว่า  วิสาหกิจชุมชน คือ การประกอบการโดยชุมชนที่มีสมาชิกในชุมชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตทั้งด้านการผลิต การค้า และการเงิน และต้องการใช้ปัจจัยการผลิตนี้ให้เกิดดอกผลทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ด้านเศรษฐกิจ คือ การสร้างรายได้และอาชีพ ด้านสังคม คือ การยึดโยงร้อยรัดความเป็นครอบครัวและชุมชนให้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ แบ่งทุกข์แบ่งสุขซึ่งกันและกัน โดยผ่านการประกอบกระบวนการของชุมชน ด้วยเหตุนี้เองเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาความยากจนของเกษตรกรจึงได้นำเสนอความช่วยเหลือต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผ่านทาง นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ถือได้ว่าเป็นการช่วยเหลือประชาชนที่รับความเดือดร้อนและช่วงสภาวะวิกฤติ ไวรัส covid-19 ระบาด และทางรัฐบาลก็พร้อมให้การช่วยเหลืออย่างเต็มที่ ตามนโยบาย"รวมไทยสร้างชาติ"

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2563

คนไทย...ไม่ทิ้งกัน ประชาชนวัดบ้านใหม่สิริวัฒาราม อ.หันคา จ.ชัยนาท ได้รับมอบถุงยังชีพจำนวน 300 ครัวเรือน พร้อมเงินให้ไว้ใช้ส่วนตัวคนละ 100 บาท


คนไทย...ไม่ทิ้งกัน ประชาชนวัดบ้านใหม่สิริวัฒาราม .หันคา .ชัยนาท ได้รับมอบถุงยังชีพจำนวน 300 ครัวเรือนพร้อมเงินให้ไว้ใช้ส่วนตัวคนละ 100 บาท

กลุ่มคณะเพื่อนๆจัดแจกถุงยังชีพจำนวน 300 ครัวเรือน พร้อมแจกเงินให้กับชาวบ้านไว้ใช้ส่วนตัวคนละ100บาท โดยมี คุณสุพจน์ และครอบครัวโภชนพาณิชย์ ,คุณสุโรจน์ -วันทนา ธัมประพาสอัศดร พร้อมครอบครัวและคณะ ,นายประเสริฐ สิทธิสาครศิลป์ ,คุณรัตนา สิทธิสาครศิลป์
,คุณขจรเดช - สุวรรณี อิสริยะประชา ,คุณสุวรรณา ธรรมจริยาเจริญพร้อมคุณแม่ (เจ้าแม่ใบหยก) ,คุณสุรกิจ  -  สุวรรณา ทวีศักดิ์ ,คุณธงชัย โพธิ์ศรีทองและคณะ ,บ.วาไรตี้แพ็ค จก. โดยนายกิตติ์ดนัย ศุภสิริเศรษฐ์ ,นายทองเคลือบ  ศรีชัย ,คุณนรากร มหัธนันท์(เฮียแปะตี๋) ในนามของ อร่อยลิ้น (Aroi-Lin) ศีตลา เคนสี ,รสริน ตั้งเริก ,ธนภัทร ตั้งเริก ,อาทิตย์ อินทร์เทพ ,แคทริยา พูลเพิ่ม แจกถุงยังชีพ.ที่กลุ่มคณะเพื่อนๆจัดแจก.วันที่ 28-6-63 ณ.วัดบ้านใหม่สิริวัฒาราม อ.หันคา จ.ชัยนาท โดยพระราชสิริชัยมุนี อดีตเจ้าคณะจังหวัดชัยนาท มอบถุงยังชีพจำนวน 300 ครัวเรือน พร้อมแจกเงินให้กับชาวบ้านไว้ใช้ส่วนตัวคนละ100บาท










ส่วนของที่แจกมีดังนี้
1.น้ำมันพืช.1ลิตร 2.ซอสง่วนเชียงฝาเขียว 300cc.3.ไข่เค็ม 3 ฟอง 4.น้ำตาลทรายครึ่ง.กก. 5.ปลากระป๋อง 3 กระป๋อง6.สบู่ 2 ก้อน 7.ยาสีฟันขนาด.25.- 8.แปรงสีฟัน1ด้าม 9.แชมพูสระผมขนาดกลาง10.กระปิ11.น้ำพริกกุ้งแห้ง12.มาม่า3.ซอง13.ขนมคาราด้า.14.รองเท้าแตะ1คู่ 25. เสื้อยืดคอกลม 1 ตัว

ส่วนที่ทางคณะนำมอบให้ทางโรงเรียนวัดบ้านใหม่ 
1. แมสให้นักเรียนทุกท่าน
2. กระเป๋าเป้สะพายข้างนักเรียนทุกท่าน
3. เจลล้างมือนักเรียนท่านละหลอดและอาหาร ข้าวผัด 400 กล่องสำหรับแจกอีกด้วย










วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2563

พล.ต.อ.ศตวรรษ หิรัญบูรณะ ได้รับฟังบรรยายสรุปผลการปฏิบัติของ ศปก.ภ.จว.ขอนแก่น และ ศปก.ภ.จว.นครราชสีมา


พล...ศตวรรษ  หิรัญบูรณะ ได้รับฟังบรรยายสรุปผลการปฏิบัติของ ศปก..จว.ขอนแก่น และศปก..จว.นครราชสีมา

   เมื่อวันที่ 25-26 มิ..63 พล...ศตวรรษ  หิรัญบูรณะ ที่ปรึกษาพิเศษ ตร./ผอ.ศปก.ตรตรวจเยี่ยมการขับเคลื่อนศปก..จวภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคไวรัสติดต่อโควิด-19 และให้กำลังใจข้าราชการตำรวจ พื้นที่ .3 และ .4 มีรายละเอียด ดังนี้

    วันที่ 25 มิ..63  ตรวจเยี่ยม ศปก..จว.ขอนแก่น โดยมี พล...เจริญวิทย์  ศรีวนิชย์ ผบช..4 พล...พรหมณัฏฐเขต ฮามคำไพ รอง ผบช..4 และพล...พุฒิพงศ์  มุสิกุล ผบก..จว.ขอนแก่น พร้อมด้วยข้าราชการตำรวจในสังกัดให้การต้อนรับ

      26 มิ..63 ตรวจเยี่ยม ศปก..จว.นครราชสีมา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคไวรัสติดต่อโควิด-19 โดยมีพล...ไพโรจน์  บุญเต็ง รอง ผบช..3 และพล...สุจินต์ นิจพานิชย์ ผบก..จว.นครราชสีมา พร้อมด้วยข้าราชการตำรวจในสังกัด ให้การต้อนรับ

     จึงได้มอบนโยบาย ให้คำแนะนำ และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติ พร้อมทั้งได้รับฟังบรรยายสรุปผลการปฏิบัติของศปก..จวและมอบหน้ากากอนามัย  ให้ข้าราชการตำรวจไว้ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่









เสียงคนจะนะ...เมื่อนิคมอุตสาหกรรมเคาะประตูบ้าน


เสียงคนจะนะ...เมื่อนิคมอุตสาหกรรมเคาะประตูบ้าน

ประเด็นเกาะติดโครงการพัฒนาขนาดยักษ์ระดับ "เมกะโปรเจค" ที่ไม่ได้มีแค่ "อีอีซี" แต่ยังมีนิคมอุตสาหกรรมจะนะ ที่จังหวัดสงขลาด้วย สัปดาห์ที่แล้วเราฉายภาพกว้างให้เห็นภาพรวมของโครงการกันไปแล้วว่าจะก่อสร้างอะไรบ้าง วันนี้เราพาไปลงพื้นที่ อ.จะนะ เมืองแห่งนกเขาชวา และท้องทะเลอันอุดมสมบูรณ์ เราไปฟังกันว่าชาวบ้านที่นั่นคิดอย่างไร เมื่อมีนิคมอุตสาหกรรมมาเคาะประตูถึงหน้าบ้าน ติดตามจากรายงานพิเศษ

จากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 43 สายปัตตานี-หาดใหญ่ เลี้ยวเข้าเส้นทางชายทะเลไปประมาณ 5 กิโลเมตร ก็จะเข้าสู่พื้นที่ 3 ตำบล "นาทับ - ตลิ่งชัน - สะกอม" ที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต. ประกาศเป็น "เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ" เพื่อเตรียมรองรับโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ ในฐานะ "เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต"

"ทางทีมข่าวเนชั่นทีวี 22" ได้ลงพื้นที่เพื่อดูสภาพในปัจจุบัน ยังเป็นชุมชนชาวประมงที่เงียบสงบ มีเรือประมงพื้นบ้านจอดเรียงราย ส่วนที่ดินตรงข้ามชายฝั่งทะเลถูกแปรเป็นสวนยางพารา สวนกล้วย และสวนลองกอง บ้านเรือนส่วนใหญ่มีกรงนกเขาชวาแขวนไว้เป็นดั่งสัญลักษณ์ของเมืองจะนะ ขณะที่พื้นที่บางส่วนกำลังมีการก่อสร้างบังกะโลขนาดย่อมเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว

บรรยากาศโดยรวมที่จะนะยังไม่มีวี่แววของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่จะมีการก่อสร้างถึง 6 กิจกรรม ทั้งท่าเรือน้ำลึก โรงไฟฟ้า และโรงงานอุตสาหกรรมหนักนานาชนิด

สุทธิ์ชัย หมะเหม ผู้ใหญ่บ้าน เล่าว่า ชาวบ้านส่วนใหญ่ที่นี่ประกอบอาชีพประมง ที่เหลือก็ค้าขายและทำการเกษตร เกือบทั้งหมดทราบแล้วว่าจะมีนิคมอุตสาหกรรมมาลงที่จะนะ ซึ่งส่วนตัวก็เห็นว่าดี แต่สิ่งที่เป็นห่วงก็คือผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับชุมชน"เนชั่นทีวี" แวะเวียนพูดคุยสอบถามชาวบ้านหลายคน ทุกคนยอมรับตรงกันว่าในพื้นที่มีทั้งคนคัดค้านและสนับสนุนโครงการ แต่สิ่งที่ชาวบ้านทุกคนต้องการคือข้อมูลที่ครบถ้วน แท้จริง เพราะเมื่อนิคมอุตสาหกรรมเข้ามา ชาวบ้านต้องปรับตัวใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับโรงงานไปอีกนาน จึงอยากให้ ศอ.บต.เข้ามาเปิดเวที และนำเสนอข้อมูลทุกด้านให้ชาวบ้านทราบ

ซาเราะ หมัดเสม ชาวประมงใน อ.จะนะ จ.สงขลาตั้งคำถามว่า ท่าเรือน้ำลึกจะมีกี่แห่งกันแน่ เพราะข้อมูลไม่ชัดเจน บางคนบอกว่า 1 แห่ง บางคนบอกว่า 2 แห่ง 3 แห่ง ที่สำคัญถ้าต้องไปทำงานโรงงาน จะมีรายได้ดีกว่าปัจจุบันนี้ได้อย่างไร เนื่องจากทุกวันนี้ออกทะเล 6 โมงเช้า สายๆ กลับมาก็ได้แล้ว 2,000 บาท

ไม่เพียงแต่ออกเรือหาปลาเท่านั้นที่สร้างรายได้ เพราแต่ละวันชาวบ้านยังปลูกผักขายได้อีก แบบนี้เองที่ ซาเราะตั้งคำถามว่า ถ้ามีโรงงานอุตสาหกรรม จะรับคนอายุเยอะแบบเธอเข้าทำงานหรือไม่ ฉะนั้นเรื่องการจ้างงานที่เป็นผลจากการทำโครงการขนาดใหญ่ อาจไม่ใช่คำตอบสำหรับเธอและครอบครัว

"จะนะ" เป็นเมืองแห่งนกเขาชวา มีการจัดแข่งขันนกเขาชวาเสียงระดับนานาชาติทุกปี มีฟาร์มนกเป็นร้อยแห่ง และมีสนามแข่งนกขนาดใหญ่อยู่ในพื้นที่ด้วย ฉะนั้นเมื่อจะนะกำลังจะแปรสภาพเป็นเขตอุตสาหกรรม ทำให้ จีโอ๊ะ มินหมี เจ้าของนก "เป๊ปซี่ทอง" ราคาตัวละ 2 ล้านบาท แสดงความกังวลเรื่องสภาพอากาศที่อาจกระทบกับนกเขาชวา แต่ก็ยอมรับว่าการมีนิคมอุตสาหกรรมเป็นเรื่องดี เพราะจะทำให้ชาวบ้านในพื้นที่มีงานทำหากมองในมุมอนุรักษ์ แน่นอนว่าย่อมไม่เห็นด้วยกับการตอกเสาเข็มสร้างนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ รุ่งเรือง ระหมันยะ นายกสมาคมรักษ์ทะเลจะนะบอกว่า ชาวบ้านที่นี่อยู่กันมาหลายชั่วอายุคน เคยต่อสู้กับประมงอวนรุนที่ทำท้องทะเลเสียหายจนได้รับชัยชนะ สามารฟื้นฟูระบบนิเวศน์ให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ได้เหมือนเดิม วันนี้ทะเลจะนะมีสัตว์น้ำมากกว่า 144 ชนิด โดย 94 ชนิดเป็นปลาที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ ฉะนั้นทะเลแห่งนี้จึงเป็นดั่งแหล่งอาหารของทุกคน ไม่ควรที่ใครจะเอาประโยชน์ไปใช้เพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

ดูเหมือนการเร่งทำความเข้าใจ การเปิดเผยข้อมูลอย่างครบถ้วน จริงใจ และการสร้างระบบที่ทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่าโครงการพัฒนาครั้งนี้จะไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ตลอดจนวิถีชีวิตดั้งเดิมของผู้คน จะเป็นโจทย์ใหญ่ของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนโครงการเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต


วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2563

แรงงานจังหวัดร้อยเอ็ด ขับเคลื่อนการทำแผนเพื่อพัฒนาคนอย่างต่อเนื่องและสมบูรณ์ก่อให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนและสอดคล้องกับปัญหาความต้องการของพื้นที่


        แรงงานจังหวัดร้อยเอ็ด  ขับเคลื่อนการทำแผนเพื่อพัฒนาคนอย่างต่อเนื่องและสมบูรณ์ก่อให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนและสอดคล้องกับปัญหาความต้องการของพื้นที่
            เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2563 เวลา 11.00 น. นายทวี จงประเสริฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด  เปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนพัฒนาแรงงานจังหวัด(พ.ศ.2563 - 2565) โดยการบูรณาการร่วมระหว่างหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานจังหวัดร้อยเอ็ด ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน  ผู้แทนกลุ่มอาชีพ แกนนำอาสาสมัครแรงงาน





            นางลัพธวรรณ วอลซ์ แรงงานจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า กระทรวงแรงงาน ได้ตระหนักถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี(พ.ศ.2561-2580) เชื่อมโยงกับทิศทางกรพัฒนาของแผนจังหวัด ในประเด็นด้านแรงงาน สำนักงานแรงงานจังหวัดร้อยเอ็ด จึงได้จัดทำโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ด้านแรงงานระดับจังหวัด(พ.ศ.2563-2565) ขึ้น เพื่อเป็นการสอดรับตามนโยบาย ในการพัฒนาคนให้เข้มแข็ง ครอบครัว ชุมชน และสังคม มีคุณภาพ เพราะตระหนักดีว่า คน เป็นศูนย์กลางการพัฒนา ที่ต้องคลอบคลุมทุกมิติและทุกภาคส่วน ทั้งแรงงานในระบบและแรงงานอิสระ ให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน  เป็นการการดูแล ส่งเสริม สนับสนุน จัดบริการและบริหารจัดการ ให้ประชากรวัยแรงงาน ได้รับการคุ้มครอง มีหลักประกันความมั่นคงในอาชีพและรายได้ ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในระดับสากล การจัดทำแผนเพื่อให้เกิดการวิเคราะห์และปรับปรุง แนวทางการพัฒนาแรงงาน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และสอดคล้องกับปัญหา ความต้องการของพื้นที่อีกด้วย





         ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ส่วนราชการกระทรวงแรงงาน ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง องค์กร การศึกษา ภาคเอกชน ผู้แทนกลุ่มอาชีพ แกนนำอาสาสมัครแรงงาน แต่ละอำเภอทั้ง  20 อำเภอ  จำนวน 80 คน
//////
คมกฤช พวงศรีเคน ข่าว/ภาพ
สุทธิชัย อุปปะ(เต็ม)รายงาน





วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ร้อยเอ็ด จัดกิจกรรมการประกวดผ้า สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน


        ร้อยเอ็ด จัดกิจกรรมการประกวดผ้า สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน
                เมื่อเวลา 09.00 น. ที่ หอประชุมไทรทอง โรงเรียนสตรีศึกษา อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานการจัดกิจกรรมการประกวดผ้า สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน จังหวัดร้อยเอ็ด  โดยมีนางนงรัตน์ คงเกษม ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดร้อยเอ็ด นายชำนาญ ชื่นตา รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารสถานศึกษา คณะผู้บริหาร ครู ผู้ผลิตผู้ประกอบการ พัฒนาการอำเภอและเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจากทุกอำเภอเข้าร่วมกิจกรรม




             นางนวลจันทร์ ศรีมงคล พัฒนาการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวรายงาน ตามที่กรมการพัฒนาชุมชน ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับสภาสมาคมสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ตามโครงการสืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน  เพื่อสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยการอนุรักษ์ ส่งเสริมและเผยแพร่ผ้าไทยศิลปอันล้ำค่าของชาติให้ดำรงคงอยู่ปรากฏเป็นความภาคภูมิใจของคนไทย และเป็นความชื่นชมของชาวโลก





 เชิดชูอัตลักษณ์คุณค่าผ้าท้องถิ่น ประชาสัมพันธ์ให้เกิดกระแสความนิยมการแต่งกายผ้าไทยแก่ประชาชนทั่วประเทศ โดยเน้นในกลุ่มข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ลูกจ้างหน่วยงานของรัฐ เอกชน ให้ใช้ผ้าไทยอย่างต่อเนื่อง   และสืบสาน อนุรักษ์ ผ้าท้องถิ่นให้คงคู่อยู่ในแผ่นดินสืบไป และยังสนับสนุนส่งเสริมการสร้างงาน สร้างอาชีพ และเสริมสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับกลุ่มสตรีในท้องที่/ท้องถิ่น เพิ่มรายได้ให้แก่กลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP





               กิจกรรมในวันนี้ ประกอบด้วย การประกวดผ้าไหมอัตลักษณ์ จังหวัดร้อยเอ็ด ประเภทผ้าไหมลายสาเกต และผ้าไหมมัดหมี่   การจัดนิทรรศการผ้าเอกลักษณ์ ผ้าโบราณ ผ้าประจำจังหวัดร้อยเอ็ด  การจัดแสดงและจำหน่ายผ้าไหม  และการเดินแบบผ้าไทย โดยบุคคลผู้มีชื่อเสียงของจังหวัดร้อยเอ็ด
//////
คมกฤช พวงศรีเคน ข่าว/ภาพ
สุทธิชัย อุปปะ(เต็ม)รายงาน