วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรมร่วมประชุม หารือแนวทางการแก้ไข และบูรณาการเพื่อป้องกันปราบปรามทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 2/2563


ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรมร่วมประชุม หารือแนวทางการแก้ไข  และบูรณาการเพื่อป้องกันปราบปรามทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 2/2563
วันที่ 4 ธันวาคม 2562  เวลา 13.30 น.ณ ห้องประชุมไชยานุกิจ ชั้น กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วย นายเนวินธุ์ ช่อชัยทิพฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เพื่อหารือแนวทางการแก้ไข  และบูรณาการเพื่อป้องกันปราบปรามทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 2/2563 โดยมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ รง. กลต. DE. สตช.เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว
  ผลการประชุม มีสาระสำคัญ ดังนี้
๑. กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในฐานะฝ่ายเลขานุการการประชุม ได้รายงานสถิติการร้องเรียนผู้เสียหาย และมูลค่าความเสียหายจากประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการถูก
หลอกลวงในลักษณะแชร์ลูกโซ่ ให้กับที่ประชุมทราบ
๒.ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาแนวทางมาตรการทางแก้ไขและบูรณาการเพื่่อป้องกันปราบปรามทางเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเห็นควรให้ สำนักงาน กลต. เป็นเจ้าภาพหลักในการรับเรื่องร้องทุกข์ แจ้งเบาะแส และการดำเนินการจะอยู่รูปแบบของคณะทำงาน โดยผู้แทน กลต แจ้งต่อที่ประชุมว่าจะขอรับประเด็นไปหารือกับผู้บริหารต่อไป
๓. สำหรับกรณีความคืบหน้าการดำเนินคดีกับบริษัท เครดิต สวิส ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนกับ กลต. นั้น ที่ประชุมเห็นควรให้ กลต.ไปเร่งรัดติดตามความคืบหน้าการดำเนินการ



หลังจากนั้น นาย สามารถ เจนชัยจิตรวนิชผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วย  นายดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน น.ส.กาญจนา หันชัยศรี ผู้ตรวจราชการกรมการจัดหางาน,น.ส.สกุลรัตน์ วงศ์สำราญ นิติกรชำนาญการ ศูนย์ยุติธรรมสร้างสุข,พ.ต.ท.พงศ์พจน์ ธรรมากุลวิชช์  ปอศ.,น.ส.ภาพันธ์ รัตนชุม นักวิชาการชำนาญการพิเศษ กรมคุ้มครองสิทธิฯ,ร.ต.อ.ธรรศ์ เลาหทวี DSI  ได้รับเรื่องร้องทุกข์กรณีผู้เสียหายกลุ่มประมูลทองและกลุ่มเก็งกำไรทอง จำนวนประมาณ 70 ราย ซึ่งถูกหลอกลวงให้ลงทุนเป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้เสียหายที่เดินทางมาเป็นตัวแทนจาก 3 กลุ่มด้วยกัน
กลุ่มแรก จากคดีแชร์ทองคำโกล์ดฟาเทอร์ ที่ทาง สน โคกคาม ได้ดำเนินการจับกุมผู้ต้องหาแล้ว แต่ประสงค์ให้ช่วยขยายผลและติดตามยึดทรัพย์สินของผู้ต้องหามาเฉลี่ยคืนให้ผู้เสียหาย
กลุ่มสอง จากคดีหลอกลงทุนไม้กฤษณา ทางผู้เสียหายได้แจ้งความไว้กับทาง กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจแล้ว อยากให้ทางกระทรวงยุติธรรมเร่งรัดติดตามคดีให้
กลุ่มสาม จากหลอกลวงแก้งค์ตกทองออนไลน์ ผู้เสียหายได้แจ้งความแล้ว ที่สน.สำโรงใต้ จึงอยากให้ทางกระทรวงยุติธรรมเร่งรัดติดตามคดีให้



ทั้งสามกลุ่มได้ร้องขอให้ทางกรมคุ้มครองสิทธิ์ช่วยประสานไกล่เกลี่ยหนี้สินกับทางสถาบันการเงินให้ด้วย ทั้งยังเรียกร้องผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมไปถึงท่านนายกรัฐมนตรีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ออกกฏหมายที่รุนแรงให้มิจฉาชีพเกรงกลัวต่อบทลงโทษ เสนอให้นำมิจฉาชีพมาบำเพ็ญประโยชน์หลังจากพ้นโทษแล้ว ให้บำเพ็ญประโยชน์จนกว่าจะหาเงินมาชดใช้คืนให้กับพวกตน วอนรัฐบาลออกกฎหมายให้นำเงินที่ยึดไว้ มาเยียวยาคืนพวกตนก่อน 10% เพื่อที่จะได้เข้าถึงความยุติธรรมบ้าง วันนี้พวกตนเห็นมีแต่สิทธิผู้ต้องหา แล้วสิทธิผู้เสียหายอยู่ตรงไหน วอนนายกรัฐมนตรีช่วยเหลือ

นาย สามารถ กล่าวว่า นาย สมศักดิ์ เทพสุทิน รมว ยุติธรรม เน้นย้ำให้ ทำยุติธรรมเชิงรุก สร้างสุขให้ประชาชน วันนี้จะให้ทาง ศูนย์ยุติธรรมสร้างสุข รับเรื่องแล้ว ประสานกับทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อเร่งรัดติดตามคดีให้มีความคืบหน้า และ ประสานให้มีการรับคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายที่ตกหล่น ส่วนเรื่องหนี้สินที่ไปกู้ยืมมา จะให้ทางกรมคุ้มครองสิทธิ์ ดูเรื่องว่า เป็นหนี้ในระบบ หรือ นอกระบบ ก็จะดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไปทั้งนี้ ต้องขอบคุณทางกระทรวงแรงงาน ที่ได้จัดเจ้าหน้าที่มารับจัดหางาน และ พัฒนาฝีมือแรงงานกับผู้เสียหาย ให้มีอาชีพได้มีรายได้จากการสูญเสียจากการถูกฉ้อโกงไป ซึ่งการแก้ปัญหาการฉ้อโกงประชาชนเป็นเรื่องเร่งด่วนของรัฐบาล จึงต้องบูรณาการแก้ปัญหาแบบองค์รวม เพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน และ ไม่สร้างปัญหาใหม่ตามบัญชาของท่านนายกรัฐมนตรี ที่ให้เร่งแก้ความเดือดร้อนให้กับประชาชน

ทั้งนี้ช่วงท้ายผู้เสียหายได้ขอบพระคุณกระทรวงยุติธรรมที่ได้ช่วยไกล่เกลี่ยหนี้สินให้ตนเองสำเร็จแล้ว ตนดีใจมาก



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น