วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2562

เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกลับแผนพัฒนาจังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ. 2561 – 2565 ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564


       จังหวัดร้อยเอ็ด เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกลับแผนพัฒนาจังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ. 2561 – 2565 ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
  วันที่ 20 ธันวาคม 2562 นายทวี จงประเสริฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด  เปิดการประชุมปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนพัฒนาจังหวัด ร้อยเอ็ด พ.ศ.2551 – 2565 ฉบับทบทวน ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2564 ที่ ห้องประดับเพชร โรงแรมเพชรรัชต์การ์เด้น อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ นายอำเภอ ผู้แทนผู้บริหารองค์การ ปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนภาคประชาสังคม ผู้แทนภาคธุรกิจเอกชน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม



นายสนอง ดลประสิทธิ์ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า แผนพัฒนาจังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ.2561 – 2565 ฉบับทบทวน ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2564 คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดร้อยเอ็ด (ก.บ.จ.) ได้จัดทำบนพื้นฐาน ของกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ซึ่งเป็นแผนหลักของการพัฒนาประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) นโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และยุทธศาสตร์จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 รวมทั้งการนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลสภาพทั่วไปปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ตลอดจนการประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ศักยภาพการพัฒนาในปัจจุบัน และโอกาสในการพัฒนาในอนาคตของจังหวัดโดยนำมาวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และปัญหาอุปสรรค มาวิเคราะห์และจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ. 2561 – 2565 ฉบับทบทวนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มาตรา 19 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัด แบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 และนำผลที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นไปปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัด ให้มีความครบถ้วนและ สมบูรณ์ จากนั้นจังหวัดต้องนำแผนพัฒนาจังหวัด เสนอให้คณะกรรมการนโยบายการบริหารงาน จังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ และคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบตามลำดับต่อไป



ทั้งนี้ จังหวัดร้อยเอ็ด ได้กำหนดวิสัยทัศน์ของจังหวัดร้อยเอ็ด คือ “มหานครข้าวหอมมะลิ ศูนย์กลางการท่องเที่ยววัฒนธรรมอีสาน และเมืองสุขภาพดี ภายในปี พ.ศ. 2565” เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (GPP) เติบโตเพิ่มขึ้น และ ประชาชนมีสุขภาวะที่ดี หลุดพ้นความยากจนพึ่งตนเองได้โดยมีประเด็นยุทธศาสตร์ที่จะขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายจำนวน 5 ประเด็นการพัฒนาเป้าหมายและตัวชี้วัด 30 ตัวชี้วัดและแนวทางการพัฒนา 34 แนวทาง
ผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหารของจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการบริหารราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนกลางทุกแห่ง หัวหน้าหน่วยงาน รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐ นายอำเภอ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง และผู้แทนภาคประชาสังคมในท้องถิ่น จำนวน 400 คน
///////
คมกฤช พวงศรีเคน ข่าว/ภาพ
สุทธิชัย อุปปะ(เต็ม ข่าวไทยนิวส์)
รายงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น