วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2562

คณะอนุกรรมการการอาชีวศึกษาด้านการอาชีวศึกษาเอกชน มีมติให้ผลักดัน พ.ร.บ.การอาชีวศึกษาเอกชน เตรียมขับเคลื่อนโมเดล “อาชีวะเอกชนร่วมพัฒนาชาติ”


คณะอนุกรรมการการอาชีวศึกษาด้านการอาชีวศึกษาเอกชน มีมติให้ผลักดัน พ.ร.บ.การอาชีวศึกษาเอกชน เตรียมขับเคลื่อนโมเดล “อาชีวะเอกชนร่วมพัฒนาชาติ”

​​วันนี้ (18 ธันวาคม 2562) ที่ประชุมคณะอนุกรรมการการอาชีวศึกษา  ด้านการอาชีวศึกษาเอกชน ได้แก่ นายอรรถการ ตฤษณารังษี  ประธานกรรมการบริษัท ดับบลิว.ซี.เอส. ซันชิโร่ (ประเทศไทย) จำกัด  นายชาญณรงค์ ลักษณียนาวิน เลขาธิการสมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่ง ประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา นายโพธิวัฒน์  เผ่าพงศ์ช่วง  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทไออาร์พีซี (จำกัด)  นายประสาน ประวัติรุ่งเรือง ผู้บริหารวิทยาลัยในเครือสยามบริหารธุรกิจ SBAC พร้อมด้วย ผู้แทนจากองค์กรที่เกี่ยวกับการอาชีวศึกษาเอกชน และ นางสาวก้านทิพย์    ชาติวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารการอาชีวศึกษาเอกชน ได้ร่วมประชุมเพื่อพิจารณากรอบแนวทางการขับเคลื่อนการอาชีวศึกษาเอกชน ในปี 2563 เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของ สอศ. “R Excellent 63 ” โดยมีมติเห็นชอบให้มีการยกร่าง พ.ร.บ. การอาชีวศึกษาเอกชน ขึ้นใหม่เป็นการเฉพาะ และเตรียมขับเคลื่อนโมเดล “อาชีวะเอกชนร่วมพัฒนาชาติ”



​​นายอรรถการ ตฤษณารังษี ประธานอนุกรรมการฯ กล่าวว่า “การขับเคลื่อนการอาชีวศึกษาเอกชนในปี 2563 จะต้องเป็นปีที่การอาชีวศึกษาเอกชน ได้แสดงศักยภาพต่อสาธารณชนในด้านการจัดการอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยเสนอให้ขับเคลื่อนโมเดล  “อาชีวะเอกชนร่วมพัฒนาชาติ”    การดำเนินงานจะสอดคล้องกับทิศทางในการพัฒนาประเทศ เป็นการทำงานเชิงรุก เน้นผลลัพธ์ (Outcome) ที่เป็นรูปธรรมใช้ “ศาสตร์สหวิทยาการ สร้างเครือข่ายเป็นความรู้ สร้างความรู้เป็นเครือข่าย” ยกระดับการสร้างความร่วมมือและสร้างเครือข่ายการพัฒนาอาชีวศึกษาเอกชน เช่น “การจัดตั้งศูนย์ภาษาอาชีวศึกษาเอกชน     ทุกภูมิภาค” เพื่อเน้นการพัฒนาผู้เรียน ครูและบุคลากรอาชีวศึกษาเอกชนในเรื่องภาษาต่างประเทศ โดยประสานกับสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และTDRI เพื่อขับเคลื่อนนโยบาย “R Excellent 63 ” ต่อไป
​​


นายโพธิวัฒน์ เผ่าพงศ์ช่วง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)                 คณะอนุกรรมการฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า “การขับเคลื่อนโมเดลอาชีวะเอกชนร่วมพัฒนาชาติ ควรเน้นการทำงานในเชิงพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความพร้อม เช่น เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC จะเกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน และทิศทางในการพัฒนาประเทศ”
​​ด้าน นายวราสิทธิ์ กาญจนสูตร ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวว่า “การขับเคลื่อนโมเดลอาชีวะเอกชนร่วมพัฒนาชาติ ให้เกิดผลสำเร็จนั้น จำเป็นจะต้องมี พ.ร.บ.การอาชีวศึกษาเอกชน เป็นการเฉพาะ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความคล่องตัวการพัฒนาการอาชีวศึกษาเอกชน เนื่องจากบริบทการบริหารจัดการที่แตกต่างจากอาชีวศึกษารัฐ”
​​ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะอนุกรรมการการอาชีวศึกษาด้านการอาชีวศึกษาเอกชน ได้มีมติเห็นชอบให้ผลักดัน พ.ร.บ.การอาชีวศึกษาเอกชน และกำหนดให้ขับเคลื่อนโมเดล “อาชีวะเอกชนร่วมพัฒนาชาติ”


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น