วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สุดล้ำ สร้างสรรค์โครงการ “ชูใจ” หุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์อัจฉริยะ ดูแลสุขภาพและช่วยลดความเครียดผู้สูงอายุ


คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สุดล้ำ  สร้างสรรค์โครงการ “ชูใจ” หุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์อัจฉริยะ ดูแลสุขภาพและช่วยลดความเครียดผู้สูงอายุ


วันนี้ (12 ..63) ที่ห้องประชุม เรนโบว์ Baiyoke Sky Hotel ราชเทวี กรุงเทพฯ นางสุจิตรา พิทยานรเศรษฐ์ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ ระบบบริหารจัดการทรัพยากรและข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุภายใต้โครงการ "ชูใจ" : หุ่นยนต์ดูแลสุขภาพใจผู้สูงอายุสำหรับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ โดยมี ผศ.ดร.จำรัส พร้อมมาศรองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวรายงาน ดร.กลกรณ์ วงศ์ภาติกะเสรี หัวหน้าโครงการ"ชูใจ" : หุ่นยนต์ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุสำหรับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้บรรยายอบรม พร้อมผู้เข้าร่วมโครงการ






ดร.กลกรณ์ฯ ล่าวว่า   ปัจจุบันการใช้งานในส่วนของปัญญาประดิษฐ์เริ่มเข้ามามีบทบาทในหลายส่วนด้วยกันงานวิจัยของเราได้เอาเรื่องของปัญญาประดิษฐ์มาควบคู่กับทางด้านจิตเวช หรือหลักการทางด้านของจิตวิทยา เป็นการผสมผสานในการสร้างเอไอที่เก่งทางด้านอีคิว ที่สามารถช่วยเหลือผู้สูงอายุในแง่ของทางด้านจิตใจ  ช่วยพูดในเรื่องของการแก้เหงาหรือช่วยในเรื่องของการลดระดับอารมณ์ความครียดภายในจิตใจ และยังช่วยในเรื่องของการกระตุ้นสมองเพื่อป้องกันโรคสมองเสื่อม เรามีการประยุกต์ปัญญาประดิษฐ์มารวมกับทางด้าน ดนตรี ในรูปแบบดนตรีบำบัดคลายเครียด ให้ผู้สูงอายุสามารถได้ใช้เพื่อกระตุ้นสมอง กระตุ้นอารมณ์ของตัวเองให้เกิดความผ่อนคลาย ให้อยู่ในสภาวะที่ดีขึ้นหรือว่าปกติ


ดร.กลกรณ์ฯ กล่าวว่า ในปัจจุบันเราต้องยอมรับว่าผู้สูงอายุในประเทศของเราเพิ่มขึ้นเรื่อย  ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในสังคมผู้สูงอายุเรียบร้อยแล้ว โดยขณะเดียวกันผู้ดูแลผู้สูงอายุไม่ได้เพิ่มตามจำนวนของผู้สูงอายุ ซึ่งแน่นอนไม่ว่าจะเป็นทางสังคม หรือศูนย์ดูแลผู้สูงอายุต่างๆ หรือแม้กระทั่งในครอบครัว ผู้ที่จะมาอยู่กับผู้สูงอายุตลอดได้เต็มเวลาก็เป็นไปได้น้อย ฉะนั้น ตัวหุ่นยนต์ หรือว่าตัวปัญญาประดิษฐ์ เราสามารถสร้างมันขึ้นมาเพื่อเป็นเพื่อนพูดคุยแก้เหงาจึงเป็นทางเลือกนึงที่สามารถที่จะโต้ตอบกับทางผู้สูงอายุได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุอยู่ในระดับความเครียด เศร้าหรือเหงาก็มีตัวหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์นี้สามารถพูดคุยสนธนาและโต้ตอบกันได้






ดร.กลกรณ์ฯ กล่าวต่อไปว่า ด้วยตัวหุ่นยนต์ชูใจเราออกแบบมาสําหรับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะ  ปัจจุบันเรามองว่าหากการที่จะเอาผู้สูงอายุหนึ่งคนกับหุ่นยนต์หนึ่งตัวอาจจะยาก ในการที่ว่าเราจะขยายปริมาณความต้องการไปได้ระดับนั้น เรามองว่า  ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุหนึ่งกลุ่มศูนย์ดูแลต่อหุ่นยนต์ชูใจหนึ่งตัว น่าจะเป็นค่าที่เหมาะสม ถูกหลักมากกว่า คือเราสามารถใช้หุ่นยนต์ชูใจกับผู้สูงอายุที่มีอาการของโรคซึมเศร้า โรคเครียดต่างๆ หรือคิดถึงลูก สามารถใช้หุ่นยนต์ชูใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งดีกว่าการขยายปริมาณหุ่นยนต์ชูใจไปแจกจ่ายตามชุมชน ซึ่งอาจมีงบประมาณที่เพิ่มสูงขึ้นและไม่ตรงกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน


ดร.กลกรณ์ฯ กล่าวว่า  ตอนนี้เราพยายามสร้างเครือข่ายภาคีดูแลกลุ่มผู้สูงอายุ ได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงานด้วยกัน เช่นโรงพยาบาลศิริราช กรมกิจการดูแลผู้สูงอายุ และสมาคมต่างๆ โดยทางเราได้จัดการอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการดูแลผู้สูงอายุเพื่อให้ได้รับประโยชน์มากที่สุด






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น