วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2563

ร้อยเอ็ด หลวงพ่อบุญเดช วัดถ้ำแสงธรรม ภูลังกา จังหวัดบึงกาฬ ได้เมตตามอบยันต์ลงหน้ากากอนามัย สร้างภูมิด้านจิตใจ มีสติ ช่วงโควิด 19 แก่ศูนย์ฯมูลนิธิจ่าแซม


         ร้อยเอ็ด  หลวงพ่อบุญเดช วัดถ้ำแสงธรรม ภูลังกา จังหวัดบึงกาฬ ได้เมตตามอบยันต์ลงหน้ากากอนามัย สร้างภูมิด้านจิตใจ มีสติ ช่วงโควิด 19 แก่ศูนย์ฯมูลนิธิจ่าแซม
                  ที่สำนักงานที่ตั้งมูลนิธินาวาตรีสมาน กุนัน หรือจ่าแซม บ้านเลขที่ 346 หมู่7 ต.รอบเมือง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด  หลวงพ่อบุญเดช ญาณเตโช  วัดถ้ำแสงธรรม(ภูลังกา)อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ ได้เมตตาอนุญาตให้นำยันต์ ของหลวงพ่อ เพื่อลงหน้ากากอนามัยที่ผลิตจากศูนย์ฯ  เพื่อเป็นอีกทางในด้านการช่วยเสริมด้านจิตใจให้ทุกคนเอาธรรมเพื่อทำให้จิตใจสงบ จะได้มีสติ อยู่กับสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน   (ใช้วิจารณญาณส่วนบุคคล) โดยศูนย์นี้ภายใต้การอำนวยการของ ดร.ตวง อันทะไชย ประธานกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา /ประธานมูลนิธินาวาตรีสมานกุนัน(จ่าแซม) พร้อมด้วยเครือข่ายศูนย์อบรมปฏิบัติการผลิตหน้ากากอานมัย นายธีระชัย แสนภูวา ท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด นายสมัย  คะนะมะ  รองผู้อำนวยการแขวงทางหลวงร้อยเอ็ดแขวงทางหลวงร้อยเอ็ด นายวุฒิภัทร คงมั่น นายกสมาพันธ์รถตู้แห่งประเทศไทย  ดร.นิรุจน์  อุทธา ผู้แทนเครือข่ายภาคประชาสังคม  สมาคมผู้บริโภคร้อยเอ็ด และสื่อมวลชนร่วมเป็นสักขีพยาน



       ดร.ตวง อันทะไชย ประธานกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา – ประธานมูลนิธินาวาตรีสมาน กุนัน หรือจ่าแซม กล่าวว่า.-โครงการนี้ได้รับความช่วยเหลือจากเครือข่าย โดยไม่อาศัยงบประมาณของทางราชการ เพื่อสานต่ออุดมการณ์ของจ่าแซม ในการสร้างความดีอย่างต่อเนื่อง ถ้าเราสามารถสอนให้ชาวบ้านผลิตหน้ากากเองได้ คือการนำเอาผ้าพื้นบ้านมาทำได้ สามารถเย็บด้วยมือได้ เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่มีเครื่องมืออย่างเช่นจักร  การทำให้ชุมชนเข้มแข็ง คือคำตอบ ไม่ใช่รัฐบาล ต่อให้รัฐบาลเก่งยังไงก็ตามแต่ถ้าชุมชนไม่เข้มแข็ง ไม่คิดจะลุกขึ้นมาปกป้องตัวเอง ไม่ทำให้ตัวเองมีวินัย ไม่รู้จักช่วยเหลือตัวเองไม่รู้จัก Social Distancing ไม่รู้จักการทำหน้ากาก ไม่รู้จักการล้างมือ แต่เมื่อชุมชนช่วยบริหารจัดการกันเองอย่างเป็นระบบ โดยมีรัฐบาลส่งเสริม ก็จะสามารถมีความเข้มแข็งได้ และในช่วงระบาดของโรคโควิด 19   ประชาชนต้องได้รับการดูแลในการป้องกันการติดเชื้อโควิด19 จึงได้เร่งให้ความรู้ชาวบ้าน เพื่อผลิตหน้ากากอนามัย และนำไปต่อยอดในพื้นที่และแจกจ่ายให้กับชุมชน ซึ่งทางศูนย์ฯได้รับการช่วยเหลือ จากเครือข่ายอุปกรณ์ผ้าในการใช้ผลิต  ยางยืด และค่าใช้จ่ายอื่นๆทางศูนย์ฯ เป็นการดูแล   โดยเริ่มตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 (เริ่ม 26 มี.ค.63 ถึงปัจจุบัน 18 เม.ย.63 รวม 15 รุ่น)   มีชาวบ้านจากหมู่บ้านต่างๆ  ทั้งจังหวัดใกล้เคียงมาอบรมความรู้ และอาสาสมัครมาเย็บไปแจกพี่น้องในพื้นที่ อย่างต่อเนื่อง รุ่นละไม่เกิน 12 คน  และส่วนหนึ่งก็ได้นำถวายแด่พระสงฆ์ ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อให้ได้ใช้ในการรับกิจนิมนต์ของคณะสงฆ์ อีกด้วย  
        และในวันนี้ มีชาวบ้านจากอำเภอปทุมรัตต์ และจังหวัดกาฬสินธุ์  มาฝึกอบรม โดยมีสมาคมผู้บริโภคร้อยเอ็ด ตัวแทนชมรมสื่อสร้างสรรค์ร้อยเอ็ด  ให้ความรู้เรื่องการเย็บจักรในการผลิตหน้ากากอนามัย โดยเริ่มต้นจากอุปกรณ์ ผ้า สิ่งใกล้ตัวเองที่มีอยู่ เพื่อให้ทันใช้ อย่างน้อยคนละ 3 ชิ้น ดูแลโดย นางฉวีวรรณ อารีเอื้อ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ และคณะจิตอาสาเย็บจักรผลิตหน้ากากฯให้อีกด้วย ซึ่งเราจะเห็นว่า มีผลงานที่หลากหลาย ทั้งผ้าธรรมดา ผ้าผืนบ้านและผ้าไหม ล้วนเป็นฝีมือของชาวบ้านที่มาทำที่ศูนย์ทั้งนั้น
/////////////
คมกฤช พวงศรีเคน ข่าว/ภาพ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น